99 เรื่องของ ในหลวง ที่คนไทยควรรู้และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ในหลวง เมื่อทรงพระเยาว์
His Majesty the King
- ทรงพระราชสมภพเวลา 08.45น.(เวลาท้องถิ่น สหรัฐฯ)
- นายแพทย์ผู้ถวายการคลอดชื่อ ดับลิว สจ๊วต วิตมอร์ มีน้ำหนักแรกประสูติ 6 ปอนด์
- พระนาม “ภูมิพล” ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
- พระยศเมื่อแรกประสูติ คือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า ภูมิพลอดุลยเดช
- ทรงมีชื่อเล่นว่า “เล็ก” หรือ “พระองค์เล็ก”
- เสด็จนิวัตสู่ประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อพระชนม์ 2 พรรษา พร้อมด้วยสมเด็จพระชนกและสมเด็จพระชนนี
- ทรงเรียกสมเด็จพระราชชนนีหรือสมเด็จย่า อย่างสามัญชนว่า “แม่”
- สมัยทรงพระเยาว์ ทรงได้ค่าขนม อาทิตย์ละครั้ง
- แม้จะได้เงินค่าขนมทุกอาทิตย์ แต่ยังทรงรับจ้างเก็บผักผลไม้ไปขาย เมื่อได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผักมาปลูกเพิ่ม
- สมัยพระเยาว์ทรงเลี้ยงสัตว์หลายชนิดทั้งสุนัข กระต่าย ไก่ นกขุนทอง ลิง แม้แต่งูก็เคยเลี้ยง ครั้งหนึ่งงูตายไปก็มีพิธีฝังศพอย่างใหญ่โต
- สุนัขตัวแรกที่ทรงเลี้ยงสมัยพระเยาว์เป็นสุนัขไทย ทรงตั้งชื่อให้ว่า “บ๊อบบี้”
- ทรงฉลองพระเนตร(แว่นสายตา)ตั้งแต่พระชันษายังไม่เต็ม 10 ขวบ เพราะครูประจำชั้นสังเกตเห็นว่าเวลาจะทรงจดอะไรจากกระดานดำจะต้องลุกขึ้นบ่อยๆ
- สมัยพระเยาว์ทรงซนบ้าง หากสมเด็จย่าจะลงโทษ จะเจรจากันก่อนว่า โทษนี้ควรตีกี่ที่ ในหลวงจะทรงต่อรองว่าทีเดียวก็พอ
- ระหว่างประทับอยู่สวิส จะทรงใช้ภาษาฝรั่งเศสกับสมเด็จพระเชษฐาและสมเด็จพระพระเจ้าพี่นางเธอฯ แต่จะใช้ภาษาไทยกับสมเด็จย่าเสมอ
16.ในหลวง ทรงเชี่ยวชาญในภาษาต่างประเทศหลายภาษา เช่น ภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมันและลาติน
- ทรงได้รับการอบรมให้รู้จัก “การให้” โดยสมเด็จย่าจะทรงตั้งกระป๋องออมสินเรียกว่า “กระป๋องคนจน” หากทรงนำเงินไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร จะต้องถูก “เก็บภาษี” หยอดใส่กระปุกนี้ 10% ทุกสิ้นเดือนสมเด็จย่าจะเรียกประชุมเพื่อถามว่าจะเอาเงินในกระป๋องนี้ไปทำอะไร เช่น มอบให้โรงเรียนตาบอด มอบให้เด็กกำพร้า หรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน
- ครั้งหนึ่ง ในหลวงกราบทูลสมเด็จย่าว่าอยากได้รถจักรยาน เพราะเพื่อนคนอื่นๆเขามีจักรยานกัน สมเด็จย่าตอบว่า “ลูกอยากได้จักรยาน ลูกก็ต้องเก็บค่าขนมไว้สิ หยอดกระป๋องวันละเหรียญ ได้มาก ค่อยเอาไปซื้อจักรยาน”
- กล้องถ่ายรูปกล้องแรกของในหลวง คือ Coconet Midget ทรงซื้อด้วยเงินสะสมส่วนพระองค์ เมื่อพระชนม์เพียง 8 พรรษา
- ช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงปั่นจักรยานไปโรงเรียนแทนรถพระที่นั่ง
ทรงศึกษาวิชาการต่าง ๆ
- ทรงเคยเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนมาแตร์เดอี เพราะช่วงพระชนมายุ 5 พรรษา ทรงเคยเข้าเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ 1 ปี มีพระนามในใบลงทะเบียนว่า “H.H Bhummibol Mahidol” หมายเลขประจำตัว 449
- ทรงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยโลซานน์ แผนกวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
- หลังจากที่เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศสวิสอีกครั้งเพื่อทรงศึกษาวิชาใหม่ คือกฎหมาย และการปกครอง เนื่องจากต้องรับพระราชภาระเป็นพระมหากษัตริย์ ในด้านวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ทรงศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศ เกี่ยวกับพื้นฐานและวัฒนธรรมของแต่ละชาติ เพื่อเป็นแนวปรับปรุงแก้ไขประเทศไทยให้เจริญขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชปรารภอยู่เสมอว่า ประเทศไทยของพระองค์ยังล้าหลังประเทศอื่นอยู่มาก ทั้งในด้านเศรษฐกิจ และการศึกษา ฯลฯ
22.ในหลวงทรงเชี่ยวชาญในภาษาต่างประเทศหลายภาษา เช่น ภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมันและละติน
พระอัจฉริยภาพของ ในหลวง
King Bhumibol Adulyadej
- พระอัจฉริยภาพของในหลวง มีพื้นฐานมาจาก “การเล่น” สมัยทรงพระเยาว์ เพราะหากทรงอยากได้ของเล่นอะไร ต้องทรงเก็บสตางค์ซื้อเอง หรือ ทรงประดิษฐ์เอง ทรงเคยหุ้นค่าขนมกับสมเด็จพระเชษฐา เพื่อซื้อชิ้นส่วนวิทยุทีละชิ้นๆ แล้วทรงนำมาประกอบเองเป็นวิทยุ แล้วแบ่งกันฟัง
- สมเด็จย่าทรงสอนให้ในหลวงรู้จักการใช้แผนที่และแผนภูมิประเทศของไทย โดยโปรดเกล้าฯให้โรงเรียนเพาะช่างทำแผนที่ประเทศไทยเป็นรูปตัวต่อ เลื่อยเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆเพื่อให้ทรงเล่นเป็น จิ๊กซอว์
- ในหลวงทรงเครื่องดนตรีได้หลายชนิด แต่ทรงโปรดแคลริเนท , แซกโซโพนและทรัมเป็ตมากที่สุดแต่เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ทรงหัดเล่นคือ หีบเพลง (แอกคอร์เดียน)
- ทรงสนพระทัยดนตรีอย่างจริงจังราวพระชนม์ 14-15 พรรษา ทรงซื้อแซกโซโฟนมือสองราคา 300 ฟรังก์มาทรงหัดเล่น โดยใช้เงินสะสมส่วนพระองค์ครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งสมเด็จย่าออกให้
- ครูสอนดนตรีให้ในหลวง ชื่อ เวย์เบรชท์ เป็นชาว อัลซาส
- ทรงพระราชนิพนธ์เพลงครั้งแรก เมื่อพระชนมพรรษา 18 พรรษา เพลงพระราชนิพนธ์แรกคือ “แสงเทียน” จนถึงปัจจุบันพระราชนิพนธ์เพลงไว้ทั้งหมด 48 เพลง
- ทรงพระราชนิพนธ์เพลงได้ทุกแห่ง บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย อย่างครั้งหนึ่งทรงเกิดแรงบันดาลพระทัย ทรงฉวยซองจดหมายตีเส้น 5 เส้นแล้วเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นเดี๋ยวนั้น กลายเป็นเพลง “เราสู้”
30.วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2506 เสด็จทรงปลูกต้นนนทรี 9 ต้นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน พร้อมทั้งทรงดนตรีเป็นครั้งแรกร่วมกับวง “อ.ส.วันศุกร์” ซึ่งมีอาจารย์และศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมด้วย คือ ศ.ดร.ระพี สาคริก และนายอวบ เหมะรัชตะ
- ทรงมีพระอัจฉริยภาพทางด้านการช่าง ซึ่งทรงโปรดหุ่นจำลองต่าง ๆ เช่นเรือใบเรือรบเป็นต้น ในคราวเสด็จนิวัตเมืองไทย ตอนก่อนสงครามโลก ได้ทรงจำลองเรือรบหลวงศรีอยุธยาจนเป็นผลสำเร็จ ครั้นแล้วเจ้าพระยารามราฆพก็ได้ทูลขอพระราชทานไปสำหรับให้พ่อค้าประชาชนได้ประมูลราคากันเพื่อเก็บเงินบำรุงโรงพยาบาลปราบวัณโรค ทรงถ่ายรูปไว้แล้วพระราชทานให้ไปตามประสงค์ ปรากฏว่า น.ส.เลอลักษณ์ เศรษฐบุตร ได้ประมูลซื้อไปเป็นเงินถึง 20,000 บาท อนึ่ง แม้แต่รูปเรือลำนั้นที่ทรงถ่ายโดยฝีพระหัตถ์ นายสหัส มหาคุณ เป็นผู้ประมูลซื้อไปถึงรูปละ 3,000 บาท
- นอกจากทรงโปรดการถ่ายภาพแล้ว ยังสนพระทัยการถ่ายภาพยนตร์ด้วย ทรงเคยนำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ออกฉาย เพื่อนำเงินรายได้มาสร้างอาคารสภากาชาดไทย ที่ รพ.จุฬาฯ โรงพยาบาลภูมิพล รวมทั้งใช้ในโครงการโรคโปลิโอและโรคเรื้อนด้วย
- พระราชนิพนธ์เรื่อง ”นายอินทร์” และ “ติโต” ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์ แล้วให้เสมียนพิมพ์ แต่เรื่องพระมหาชนกทรงพิมพ์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
- ทรงเล่นกีฬาได้หลายชนิด แต่กีฬาที่ทรงโปรดเป็นพิเศษได้แก่ แบดมินตัน สกี และเรือใบ ทรงเคยได้เหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค ในกีฬาแหลมทอง(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ”กีฬาซีเกมส์”) ครั้งที่ 4 ปี 2510
- ครั้งหนึ่งในหลวงทรงเรือใบออกจากฝั่งไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นกลับฝั่งและตรัสกับผู้ที่คอยมาเฝ้าว่า เสด็จกลับเข้าฝั่งเพราะเรือแล่นไปโดนทุ่นเข้า ซึ่งในกติกาการแข่งเรือใบถือว่าฟาวส์ ทั้งๆ ที่ไม่มีใครเห็น แสดงให้เห็นว่าทรงยึดกติกามากแค่ไหน
- ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรผลงานประดิษฐ์คิดค้นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่มลอย หรือ “กังหันชัยพัฒนา” เมื่อปี 2536
- ทรงเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาเชื้อเพลิงน้ำมันจากวัสดุการเกษตรเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์ และ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว
- องค์การสหประชาชาติ ได้ถวาย รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่ในหลวงเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย โดยมี นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ เดินทางมาถวายรางวัลด้วยตนเอง
เรื่องส่วนพระองค์
ร.9
- รักแรกพบของท่านขึ้นที่ประเทศ สวิสเซอรแลนด์
- ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492 ณ พระตำหนัก “วิลลาวัฒนา” และจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493
41.ในพระราชพิธีอภิเษกสมรส ในหลวงทรงพระราชทานของที่ระลึกแก่พระบรมวงศานุวงศ์และพระญาติ คือ หีบเงินขนาดเล็กมีพระปรมาภิไธยคู่ปรากฏบนหีบนั้น
- หลังอภิเษกสมรส ทรงเสด็จ “ฮันนีมูน” ที่หัวหิน
- ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 พระนามเต็มของในหลวงคือ… พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
44.พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเป็นสัจวาจาว่า “ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม”
- ทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 และประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา 15 วัน
- ระหว่างทรงผนวช พระอุปัชฌาและพระพี่เลี้ยง คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า(หม่อมราชวงศ์ชื่น นพวงศ์ฉายา สุจิตฺโต ป.๗) วัดบวรนิเวศวิหาร
- ในหลวงไม่ทรงโปรดสวมเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ ของมีค่าต่างๆ ยกเว้น นาฬิกา
- พระเกศาที่ทรงตัดแล้ว ส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่ธงชัยเฉลิมพลเพื่อมอบแก่ทหาร อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้สร้างวัตถุมงคล เพื่อมอบแก่ราษฎรที่ทำคุณงามความดีแก่ประเทศชาติ
- หลอดยาสีพระทนต์ ทรงใช้จนแบนราบเรียบคล้ายแผ่นกระดาษ
พระราชกรณียกิจ
- โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จนถึงปัจจุบันมีจำนวนกว่า 4,447 โครงการ
- ทุกครั้งที่เสด็จฯไปยังสถานต่างๆจะทรงมีสิ่งของประจำพระองค์อยู่ 3 สิ่งคือ แผนที่ซึ่งทรงทำขึ้นเอง(ตัดต่อเอง ปะกาวเอง) กล้องถ่ายรูป และดินสอที่มียางลบ
- ในหลวงทรงงานด้วยพระองค์เองทุกอย่างแม้กระทั่งการโรเนียว กระดาษที่จะนำมาให้ข้อราชการที่เข้าเฝ้าถวายงาน
- ครั้งหนึ่งเมื่อในหลวงเสด็จเยี่ยมโครงการห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาถึง ปรากฏว่าฝนตกลงมาอย่างหนัก ข้อราชการและราษฎรที่เข้าแถวรอรับเปียกฝนกันทุกคน เมื่อทรงเห็นดังนั้น จึงมีรับสั่งให้องครักษ์เก็บร่ม แล้วทรงเยี่ยมข้าราชการและราษฎรทั้งกลางสายฝน
- ทรงศึกษาลักษณะอากาศทุกวัน โดยใช้ข้อมูลที่กรมอุตุนิยมวิทยานำขึ้นทูลเกล้าฯร่วมกับข้อมูลจากต่างประเทศที่ทรงหาเอง เพื่อป้องกันภัยธรรมชาติที่อาจก่อความเสียหายแก่ประชาชน
- ในเดือนพฤษภาคม 2495 เพียงสองปีหลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชด้าเนินทรงเยี่ยมราษฎรบ้านห้วยคต ต.หินเหล็กไฟ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ รถพระที่นั่งบุกตะลุยเข้าไปพื้นที่ ตามเส้นทางเกวียนอันขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อจนตกหล่มลึก ชาวบ้านแถบนั้นต้องออกมาช่วยเจ้าหน้าที่ทหาร ต้ารวจ ยกรถพระที่นั่งพ้นจากหล่มในหลวงทรงมีพระราชดำรัสถามชาวบ้านที่มาช่วยยกรถพระที่นั่งที่ตกหล่มว่า “หมู่บ้านนี้มีปัญหาอะไรบ้าง…” เมื่อชาวบ้านกราบบังคมทูลว่า ปัญหาใหญ่ที่สุดคือไม่มีถนน ไม่นานต่อมาชาวบ้านห้วยคตก็ได้เห็นตำรวจพลร่มค่ายนเรศวรนำรถบูลโดเซอร์มาเกลี่ยผิวถนน และเพียงหนึ่งเดือนเท่านั้น ชาวบ้านก็ได้ถนนพระราชทาน ที่ช่วยร่นระยะเวลา สามารถเดินทางมาถึงตลาดหัวหินได้ภายใน 20 นาที
- โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา เริ่มต้นขึ้นจากเงินส่วนพระองค์จำนวน 32,866.73บาท ซึ่ง ได้จากการขายหนังสือดนตรีที่พระเจนดุริยางค์ จากการขายนมวัว ก็ค่อยๆเติบโตเป็นโครงการพัฒนา มาจนเป็นอย่างที่เห็นกันทุกวันนี้
- เวลามีพระราชอาคันตุกะเสด็จมาเยี่ยมชมโครงการฯสวนจิตรลดา ในหลวงจะเสด็จฯลงมาอธิบายด้วยพระองค์เอง เนื่องจากทรงรู้ทุกรายละเอียด
- ฯพณฯอ้าพล เสนาณรงค์ องคมนตรีได้อรรถาธิบายถึงพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ว่าเป็น “พระราชวังที่ไม่เหมือนพระราชวังแห่งใดในโลก” เพราะเป็นพระราชวังที่แวดล้อมด้วยการวิจัยและทดลองด้านเกษตรกรรม ปศุสัตว์ ประมง ป่าไม้ งานอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และสิ่งแวดล้อม มีทั้งโรงสีข้าว โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นม โรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ไปจนถึงอุตสาหกรรมการเกษตรพื้นฐาน และประยุกต์เพื่อการผลิตแบบครบวงจร
- ในหลวงของเรานั้นทรงพระปรีชาในหลายด้าน ด้านกิจการโคนมก็เป็นอีกแขนงหนึ่งที่ทรงให้ ความสำคัญและความสนใจเป็นพิเศษ ด้วยทรงเห็นว่าอาชีพการเลี้ยงโคนมจะเกิดประโยชน์ต่อ เกษตรกรและประเทศไทย จึงได้ทรงทดลองเลี้ยงโคนมด้วยพระองค์เองในบริเวณสวนจิตรลดา เพื่อสาธิตการดำเนินงานให้เป็นตัวอย่างแก่เกษตรกร นอกจากนี้ ยังทรงริเริ่มให้มีการจัดตั้ง บริษัทผลิตภัณฑ์นมหนองโพ จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) ดำเนินการผลิตนมผงใน พ.ศ. 2515 ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อกิจการโคนมไทยจึงทรงได้รับการน้อมเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญาว่า “พระบิดาแห่งการโคนมไทย”
- เดิมพันของในหลวง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กราบบังคมทูลถามว่า เคยทรงเหนื่อยทรงท้อบ้างหรือไม่ ในหลวงตอบว่า “ความจริงมันน่าท้อถอยอยู่หรอก บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้ เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้านเมือง คือความสุขของคนไทยทั่วประเทศ”
- ทรงนึกถึงแต่ประชาชน แม้กระทั่งวันที่พระองค์ทรงกำลังจะเข้าห้องผ่าตัดกระดูกสันหลังในอีก 5 ชั่วโมง (20 กรกฎาคม 2549) ยังทรงรับสั่งให้ข้าราชบริพารไปติดตั้งคอมพิวเตอร์เดินสายออนไลน์ไว้ เพราะกำลังมีพายุเข้าประเทศ พระองค์จะได้มอนิเตอร์ เผื่อน้ำท่วมจะได้ช่วยเหลือทัน
- ทรงโปรดเกล้าฯให้ฟื้นฟูพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ที่มีสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรี
อยุธยาตอนปลาย เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมราชประเพณีและเพื่อบำรุงขวัญกำลังใจให้เกษตรกร
63.ตั้งแต่ปี2539 เป็นต้นมา ทรงพระราชทานแนวทางดำรงชีพแบบ “เศรษฐกิจพอเพียง” และ “ทฤษฎีใหม่” เพื่อให้ราษฎรได้พึ่งพาตนเองได้
- แกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว
65.ทรงศึกษาเรื่องการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำจากเอกสารของธนาคารโลก ที่นาย Richard Grimshaw ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย และพระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับหญ้าแฝก
- รัชกาลที่ 9 พระราชทานโครงการแพทย์หลวงพระราชทาน เมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยที่มีการจัดเจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล เครื่องมือเครื่องใช้ เพื่อตรวจรักษาราษฎรในถิ่นทุรกันดารโดยไม่คิดมูลค่า
67.ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล ในปี พ.ศ. 2502 เพื่อให้นิสิตนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่น ได้มีโอกาสไปศึกษาหาความรู้ชั้นสูงในต่างประเทศ และนำองค์ความรู้ที่ได้มาช่วยพัฒนาประเทศต่อไป
68.โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโครงการอันหลากหลายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ โครงการแบบไม่ใช่ธุรกิจ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร และโครงการกึ่งธุรกิจ อาทิ โรงโคนมสวนจิตรลดา, โรงนมผงสวนดุสิต, น้ำผึ้งสวนจิตรลดา เป็นต้น
69.โครงการฝนหลวง ทรงมีพระราชดำริส่วนพระองค์ในเรื่องการจัดทำฝนหลวง เพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำในการเกษตร โดยมีการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนหลวงขึ้น ซึ่งจะใช้สารเคมีโปรยในท้องฟ้า จนกระทั่งไอน้ำอิ่มตัวและกลั่นตัวออกมากลายเป็นเม็ดฝน
70.กังหันน้ำชัยพัฒนา ได้มีพระราชดำริให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการวิจัย และพัฒนากังหันน้ำชัยพัฒนาขึ้น เพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ ทำให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี
พระราชจริยวัตรของ ในหลวง
- อาหารทรงโปรด : โปรดผัดผักทุกชนิด เช่น ผัดคะน้า ผัดถั่วงอก ผัดถั่วลันเตา
- ทรงเสวย ข้าวกล้อง เป็นพระกระยาหารหลัก
- ไม่เสวยปลานิล เพราะทรงเป็นผู้เลี้ยงปลานิลคนแรกในประเทศไทย โดยใช้สระว่ายน้ำในพระตำหนักสวนจิตรลดาเป็นบ่อเลี้ยง แล้วแจกจ่ายพันธุ์ไปให้กรมประมง
- เครื่องดื่มทรงโปรด : โปรดโอวัลตินเป็นพิเศษ เคยเสวยวันหนึ่งหลายครั้ง
- ทรงโปรดข่าวช่องฝรั่งเศส เพื่อทรงรับฟังข่าวสารจากทั่วโลก
- ทรงฟัง จส.100 และเคยโทรศัพท์ไปรายงานสถานการณ์ต่างๆใน กทม.ไปที่ จส.100 ด้วย โดยใช้พระนามแฝง
- ทรงใช้พระนามเรียกขานทางข่ายวิทยุสื่อสารของศูนย์ควบคุมข่ายวิทยุอาสามัคร หรือ “ศูนย์สายลม” ของกรมไปรษณีย์โทรเลขว่า “VR009” อันเป็นนามเรียกขานที่กรมไปรษณีย์โทรเลขในสมัยนั้น
ทูลเกล้าฯ ถวาย ในแต่ละข่ายวิทยุสื่อสารก็ทรงมีพระนามเรียกขานเป็นการเฉพาะในข่ายวิทยุสื่อสาร
นั้นๆ แตกต่างกันไป อาทิ กส.9, เดโชชัย 1 เป็นต้น
- ในคราวเกิดวาตภัยที่ตำบลสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เมื่อ พ.ศ. 2539 จัดเป็นอุบัติภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรง สร้างความเสียหายให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นเป็นอย่างมาก มีนักวิทยุอาสาสมัครจำนวนหนึ่งได้เสียสละเดินทางออกไปช่วยเหลือบรรเทาสาธารณภัยครั้งนั้นด้วยความเต็มใจ เมื่อความได้ทราบถึงพระกรรณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงติดต่อเข้ามาที่ศูนย์ควบคุมข่าย “สายลม” และได้พระราชทานคำแนะนำวิธีการจัดข่ายการสื่อสารเฉพาะกิจดังกล่าว โดยให้นำรถยนต์ที่ติดตั้ง เครื่องรับ-ส่งวิทยุ เป็นสถานีวิทยุเคลื่อนที่ไปจอดปฏิบัติการในบริเวณจังหวัดราชบุรีโดยให้พิจารณา
คัดเลือกสถานที่สูงๆ เพื่อเป็นสถานีถ่ายทอดข้อความการรายงานข่าวระหว่างนักวิทยุอาสาสมัครที่
ก้าลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่เหตุการณ์กับศูนย์ควบคุม
- ตอนเช้าเมื่อตื่นบรรทม ในหลวงจะเปิดดูหนังสือพิมพ์รายวันทั้งไทยและเทศ ทุกฉบับ และก่อนเข้านอนจะทรงอ่านนิตยสารไทม์ส นิวสวีก เอเชียวีก ฯลฯ ที่มีข่าวทั่วทุกมุมโลก
- พระราชดำรัส เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540
“…ให้พอเพียงก็หมายความว่า มีกิน มีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้แต่ว่าพอ แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ…”
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ฉลองพระองค์ชุดเดิม และฉลองพระบาทคู่เดิมเป็นเวลา
หลายปี และเราจะสังเกตเห็นได้ว่าจะโปรดฉลองพระองค์ด้วยผ้าไทยอีกด้วย
- ร้านตัดเสื้อของในหลวง คือ ร้านยูไลย เจ้าของชื่อ ยูไลย ลาภประเสริฐ ถวายงานตัดเสื้อในหลวงมาตั้งแต่ปี 2501 เมื่อนายยูไลยเสียชีวิต ก็มี ลูกชาย นายสมภพ ลาภประเสริฐ มาถวายงานต่อจนถึงปัจจุบัน
- ห้องทรงงานของในหลวง อยู่ใกล้ห้องบรรทม บนชั้น 8 ของตำหนักจิตรลดาฯเป็นห้องเล็กๆ ขนาด 3×4 เมตร ภายในห้องมีวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องพยากรณ์ แผนที่ ฯลฯ
- สุนัขทรงเลี้ยง นอกจากคุณทองแดง สุวรรณชาด สุนัขประจำรัชกาล ที่ปัจจุบันอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล แล้ว ยังมีสุนัขทรงเลี้ยงอีก 33 ตัว
- อาชีพของในหลวง เมื่อผู้แทนพระองค์ไปติดต่อเอกสารสำคัญใดๆทรงโปรดให้กรอกในช่อง อาชีพ ของพระองค์ว่า “ทำราชการ”
- ในหลวงทรงพระเนตรเทียมข้างขวา เป็นผลจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เมืองโลซานน์ สวิสเซอร์แลนด์ รถพระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง ทำให้เศษกระจกเข้าพระเนตรข้างขวา ตอนนั้นมีพระชนม์เพียง 20 พรรษา และทรงใช้พระเนตรข้างซ้ายข้างเดียว ในการทำงานบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนชาวไทยมาตลอด
- ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์อเมริกันลงข่าวลือเกี่ยวกับในหลวงว่า แซกโซโฟนที่ทรงอยู่เป็นประจำนั้นเป็นแซกโซโฟนที่ทำด้วยทองคำเนื้อแท้บริสุทธิ์ ซึ่งได้มีพระราชดำรัสว่า “อันนี้ไม่จริงเลย สมมติว่าจริงก็จะหนักมาก ยกไม่ไหวหรอก”
- ปีหนึ่งๆ ในหลวงทรงเบิกดินสอแค่ 12 แท่ง ใช้เดือนละแท่ง จนกระทั่งกุด
- หัวใจทรงเต้นไม่ปกติ ในหลวงเคยประชวรหนักจนหัวใจเต้นไม่ปกติ เนื่องจากติดเชื้อไมโครพลาสมา ขณะขึ้นเยี่ยมราษฎรที่อำเภอสะเมิงติดต่อกันหลายปี
- รู้หรือไม่ว่า ในหลวงเป็นคนประดิษฐ์รูปแบบฟอนต์ภาษาในคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้อย่าง ฟอนต์จิตรลดา ฟอนต์ภูพิงค์
91.ในหลวงทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์นานที่สุดในโลก
92.ในงานเฉลิมฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มีพระราชวงศ์จากทั่วโลกเสด็จมาร่วมงาน 25 ราชวงศ์
- ในนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จัดขึ้นที่อิมแพ็ค มีประชาชนเข้าชมรวม 6 ล้านคน
- ในหลวงเริ่มพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2493 จน 29 ปีต่อมาจึงมีผู้คำนวณว่าเสด็จพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับครั้งละ 3 ชม. ทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทาน 470,000 ครั้ง น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ 3 ขีด รวมน้ำหนักทั้งหมด 141 ตัน
- ดอกไม้ประจำพระองค์ คือ ดอกดาวเรือง
- สีประจำพระองค์คือ สีเหลือง
- ทรงรับสั่งกับข้าราชบริพารเสมอว่า การนั่งรถคนละคันเป็นการสิ้นเปลือง ให้นั่งรวมกัน ไม่โปรดให้มีขบวนรถยาวเหยียด
- รหัสประจำพระองค์คือ 901
99.โรงพยาบาลเมาท์ออเบิร์น ตึกฟิสค์ เป็นที่ประสูติกาลของพระเจ้าอยู่หัว
สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์ น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้
ข้าพระพุทธเจ้ากลุ่มบริษัท และพนักงาน Engfinity
His Majesty will live in our hearts eternally.
ขอบคุณข้อมูลจาก Manager Online, TCEB
สนใจเรียนภาษาอังกฤษกับ Engfinity
กรุณากรอกรายละเอียดด้านล่างให้ครบถ้วน