เคล็ดลับการเตรียมตัวพรีเซนต์งานภาษาอังกฤษอย่างไรให้ปัง
หลายคนคงเคยผ่านการพรีเซนต์งานมาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการพรีเซนต์งานหน้าชั้น หรือพรีเซนต์ในที่ประชุม ก็คงจะรู้สึกตื่นเต้นอยู่ไม่น้อย แล้วยิ่งถ้างานนั้นต้องพรีเซนต์เป็นภาษาอังกฤษล่ะ บางคนก็อาจจะรู้สึกกังวล ไม่พร้อม หรือบางคนก็คิดว่าเราทำมันออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควร
อย่างไรก็ตาม เราต้องหาวิธีการจัดการให้การพรีเซนต์ออกมาดีที่สุด ด้วยเทคนิคที่แตกต่างกันไปตามแต่สไตล์ของคน แต่ถ้าสำหรับใครที่ไม่รู้ว่า เราจะจัดการกับปัญหาเหล่านี้อย่างไร
วันนี้เราเลยอยากมาแนะนำเทคนิคการ พรีเซนต์งานภาษาอังกฤษ อย่างไรให้ถูกใจทั้งผู้พูดและผู้ฟัง แถมยังทำให้งานออกมามีประสิทธิภาพและเป็นที่พึงพอใจอีกด้วย
10 เทคนิคการเตรียมตัวพรีเซนต์งานอย่างไรให้ปัง
1. พรีเซนต์งานภาษาอังกฤษ : คิดถึงรายละเอียดต่างๆ
การที่เราคิดถึงรายละเอียดต่างๆ ก่อนที่เราจะพรีเซนต์ จะช่วยคลายความกังวลใจ ช่วยให้เรามีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น โดยรายละเอียดที่เราควรคำนึงถึง มีดังนี้
- หัวข้อและวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ
- คิดว่าผู้ชมของคุณนั้นคือใคร
- ข้อความหลักๆที่เราจะสื่อออกไปมีอะไรบ้าง
- เตรียมตัวสำหรับตอบคำถาม โดยต้องคิดว่าผู้ฟังจะถามคำถามอะไรเรา
- อุปกรณ์ที่ใช้นำเสนอ เอกสารที่ใช้ในการพรีเซนต์งาน
- เวลาที่ใช้ในการพรีเซนต์ ต้องไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงภาษาที่เราจะใช้ในการพรีเซนต์ด้วย ต้องเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย หรือแม้กระทั่งชุดที่เราจะใส่ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก จนหลายคนอาจจะมองข้าม แต่จริงๆแล้วถ้าเรามีความมั่นใจ ช่วยลดความประหม่าในการพูดไปได้เยอะเลย
2. พรีเซนต์งานภาษาอังกฤษ : ห้ามละเลยภาษากาย
ภาษากาย หรือ Body Language คือการสื่อสารผ่านท่าทางของร่างกาย การส่งสายตา การขยับท่าทางมือ เพื่อสร้างความประทับใจครั้งแรก (First Impression)ให้เกิดขึ้นในการพรีเซนต์งาน ภาษากายถือได้ว่ามีอิทธิพลมากกว่าภาษาพูดอย่างเดียว เพราะจะทำให้คนฟังได้รับรู้ในสิ่งที่เราจะสื่อ ดวงตาก็ถือเป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารระหว่างบุคคล โดยเราควรจะมี Eye-contact ด้วย ถ้าเรามัวแต่ก้มมองพื้น หรือไม่สบตากับผู้ฟัง จะทำให้ดูไม่เป็นมืออาชีพ
เครดิตรูปภาพ : giphy
ทางที่ดีเราควรวางท่าสบายๆเพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติ ไม่เกร็งจนเกินไป ใช้ท่าทางที่เป็นธรรมชาติเพื่อแสดงถึงความกระฉับกระเฉง คล่องแคล่ว และมั่นใจ
3. พรีเซนต์งานภาษาอังกฤษ : เกริ่นแนะนำเป็นนัยๆ
เริ่มจากการแนะนำตัวเองก่อนว่าเป็นใคร มาจากไหน จุดประสงค์ที่เราต้องการจะพรีเซนต์ เพื่อให้ผู้ฟังเห็นภาพรวมทั้งหมดว่าในวันนี้เราจะมาพูดเรื่องอะไรบ้าง
หลังจากนั้น เราก็พูดเกริ่นนำเพื่อที่จะดึงดูดความสนใจ จะทำให้ผู้ฟังอยากจะฟังในสิ่งที่เรากำลังจะพูด ทั้งการใช้คำถามในการเกริ่นนำ การเล่าเรื่องจากประสบการณ์โดยตรง ใช้คำคม หรือข้อมูลเชิงสถิติ เพื่อดึงดูดให้คนสนใจเรา แต่เรื่องที่เราเกริ่นจะต้องสอดคล้องกับเรื่องที่เราพูดด้วย
ตัวอย่างเช่น “เชื่อไหมว่าในปี 2019 กว่า 300 ล้านคนในประเทศไทยเป็นโรคซึมเศร้า”
4.พรีเซนต์งานภาษาอังกฤษ : ดึงดูดความสนใจ
การเปิดประโยคที่ดีนั้นจะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้ฟังได้ พยายามกล่าวถึงประเด็นสำคัญเป็นหลักแต่สามารถพูดถึงภาพรวมของเนื้อหาทั้งหมดได้ และชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้ฟังจะได้รับจากการนำเสนอ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและความมั่นใจให้กับผู้ฟัง
บางทีเราอาจจะศึกษาผู้ฟังมาก่อน ว่าเป็นใคร ชอบแบบไหน อายุเท่าไหร่ เป็นคนอย่างไร อย่างเช่น บางคนชอบฟังเชิงวิชาการอย่างเดียว บางคนชอบสอดแทรกมุขตลก บางคนชอบตัวเลข เพื่อที่เราจะได้เตรียมตัวพรีเซนต์งานให้ตรงใจผู้ฟังมากที่สุด
5. อธิบายทันทีเมื่อมีคนถาม
โดยปกติแล้วเวลาที่เราพรีเซนต์เสร็จ ในตอนท้ายเราจะเปิดโอกาสให้ผู้ฟังถามคำถามกัน หรือถ้าใครบางคนอนุญาติให้ผู้ฟังถามแทรกระหว่างพรีเซนต์ได้ ก็สามารถพูดกับผู้ฟังโดยตรงเลย
พยายามเตรียมคำตอบล่วงหน้าให้พร้อม โดยคิดล่วงหน้าว่าผู้ฟังจะถามคำถามอะไร ซึ่งการคาดเดาล่วงหน้านั้นจะเกิดขึ้นจากการที่เราศึกษาผู้ฟัง และจากประสบการณ์ของผู้พูดเองด้วย นอกจากนี้เราพยายามให้คุณค่าของการถามในทุกๆคำถาม เพื่อจะได้เป็นการอธิบายซ้ำในประเด็นที่สำคัญ และเป็นวิธีที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับเราเองอีกด้วย เพราะเป็นการแสดงความรอบรู้ในเรื่องที่เรากำลังจะนำเสนอ
6. ใช้ Transition Words
Transition words คือคำหรือวลีที่ใช้เชื่อมส่วนต่างๆ ของประโยคภาษาอังกฤษ เพื่อให้มีความต่อเนื่อง ไหลลื่น และช่วยส่งต่อหัวข้อหรือสไลด์ เป็นสัญญาณให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังรู้ว่ากำลังพูดถึงเรื่องอะไรอยู่ และจะพูดเรื่องอะไรเป็นลำดับถัดไป แถมยังเพิ่มความนุ่มนวลให้ประโยคดูสมูทและไม่สะดุดอีกด้วย
7. หยุดระหว่างการพรีเซนต์
สิ่งที่เราไม่ควรทำเป็นอย่างมากในการพรีเซนต์งานเลยก็คือ หยุดคิดระหว่างการพรีเซนต์ บางทีเราอาจจะนึกคำไม่ออก คิดอะไรไม่ออก เลยทำให้เรามีการหยุดชะงักกลางคันบ้าง สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราดูไม่เป็นมืออาชีพ และลดความน่าเชื่อถือจากผู้ฟัง
เครดิตรูปภาพ : giphy
แต่ถ้าใครคิดว่าถ้าเรากลัวลืมก็ใส่ข้อมูลไว้ในสไลด์ทั้งหมดสิ ขอบอกว่านั้นเป็นความคิดที่ผิดมาก เพราะถ้าเราใส่ทุกอย่างลงไปในสไลด์แล้วมันจะดูเยอะแยะไปหมด แถมยังจะทำให้ผู้ฟังสนใจสไลด์มากกว่าตัวผู้พูดอีกด้วย
8. จัดทำ Data ให้พร้อม
เพื่อเพิ่มความน่าสนใจในการพรีเซนต์ข้อมูลที่เป็นเชิงวิชาการมากเกินไป ที่เกี่ยวกับตัวเลข หรือสถิติต่างๆ เราควรหารูปภาพประกอบเป็นกราฟ หรือทำเป็น infographic ก็ได้ พร้อมทั้งเขียนคีย์เวิร์ดสำคัญ เพื่อให้ผู้ฟังเห็นภาพและเข้าใจในสิ่งที่เราจะสื่อมากยิ่งขึ้น
หรืออาจจะบอกเล่าด้วยเรื่องราวโดยการสื่อด้วยน้ำเสียงและเข้าถึงอารมณ์ โดยบอกเล่าด้วยเรื่องราวหรือการยกตัวอย่างง่ายๆ เพราะคนเราจะจดจำเรื่องราวและภาพได้มากกว่าการพูดข้อมูลที่อัดแน่นไปด้วยตัวเลขเยอะๆ
9. สรุปสั้นๆ ได้ใจความ
เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่าย ควรมีสรุปสั้นๆในหัวข้อหลักๆและสิ่งที่เราจะนำเสนอ บางทีผู้ฟังบางคนอาจจะยังจับประเด็นที่เราพูดไม่ได้ ในตอนท้ายเราควรนำเสนอสรุปสั้นๆ ทำให้คนเห็นภาพและเข้าใจในสิ่งที่เราพูดมากขึ้น เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ทบทวนตัวเองว่ามีอะไรตกหล่นไปบ้างหรือเปล่า อย่าลืมเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้มีการถามคำถามเพิ่มเติม
10. ฝึกซ้อมให้หนัก
การที่เรามีความพร้อมทั้งกายและใจนั้นจะช่วยลดความวิตกกังวลไปได้ ก่อนวันพรีเซนต์งานเราควรจะฝึกซ้อมให้มาก และทำความเข้าใจในเรื่องทั้งหมดที่เราจะพูดก่อนเสมอ เพราะถ้าเราเข้าใจในสิ่งที่เราพูดแล้ว เราก็จะสามารถสื่อมันออกมาได้ดี
เราควรฝึกพูดให้ดัง เพื่อที่จะได้ยินเสียงตัวเอง การพูดออกมาจะช่วยให้เราได้รู้ว่าเราต้องแก้อะไรตรงไหนบ้าง หลีกเลี่ยงการใช้ crutch words คำศัพท์ติดปากที่มักพูดกันบ่อยๆ อย่างเช่น uh, ah, so on, you know, like เป็นต้น ส่วนมากเราจะพูดออกมาตอนที่กำลังคิดว่าเรากำลังจะพูดอะไรต่อ
เครดิตรูปภาพ : giphy
พยายามฝึกให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยดูจากโทนเสียงของตัวเอง ถ้าเราพูดเสียงที่เบาจนเกินไป อาจจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกได้ถึงความง่วง และไม่สนใจในสิ่งที่เราพูด แต่ถ้าเราพูดในระดับเสียงที่ดังจนมากเกินไป อาจจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกรำคาญและไม่สบายหู ทางที่ดีเราควรใช้ทั้งเสียงหนักและเสียงปกติ เพื่อเพิ่มอรรถรสให้ดูน่าฟังมากยิ่งขึ้น
สรุป
ถ้าเพื่อนต้องการเตรียมตัวพรีเซนต์งาน อีกหนึ่งวิธีที่ดีเลยก็คือเราอาจจะหาสื่อต่างๆ หรือฟังตัวอย่างจากแหล่งข้อมูลออนไลน์ และนำทริคต่างๆไปใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพรีเซนต์งานที่ดี
อย่าลืมว่ายิ่งเราเตรียมตัวมาพร้อมมากเท่าไหร่ ความมั่นใจในการพรีเซนต์ก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น เพราะฉะนั้นฝึกซ้อมให้เยอะ ทบทวนเนื้อหาและจดจำลำดับสไลด์ให้แม่น จะช่วยให้ลดความประหม่าในการพรีเซนต์จริงได้เยอะเลย พรีเซนต์ด้วยความมั่นใจในข้อมูลที่เราเตรียมมา โดยแสดงออกทางสายตา ท่าทาง และน้ำเสียงที่มั่นใจ เทคนิคเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความมั่นใจและสะกดผู้ฟังได้มากยิ่งขึ้น
หากใครที่ต้องการฝึกเทคนิคการพูดได้อย่างคล่องแคล่ว โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่เลย
สนใจเรียนภาษาอังกฤษกับ Engfinity
กรุณากรอกรายละเอียดด้านล่างให้ครบถ้วน